เครื่องตี


เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี

เครื่องดนตรีประเภทนี้จะต้องมีการกระทบกันจึงจะเกิดเสียงดังออกมา และการกระทบกันที่ว่านี้ก็มีด้วยกันหลายวิธีเช่นใช้มือตี ได้แก่ กลองแขก ตะโพนไทย ตัวเองกระทบกัน ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ ใช้ไม้ที่ทำเฉพาะตี ได้แก่ ฆ้องวง โหม่ง ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ขิม ใช้การกระแทก ได้แก่ อังกะลุง
เครื่องตีสามารถแยกได้เป็น ๓ ประเภทตามหน้าที่ในการบรรเลงคือ
๑. เครื่องตีที่ทำจังหวะ
หมายถึงเครื่องตีที่เมื่อตีแล้วจะเป็นเสียงที่คุมจังหวะการบรรเลงของเพลง นั้นๆตลอดทั้งเพลงซึ่งได้แก่ ฉิ่ง และถือเป็นหัวใจของการบรรเลง
ด้วยเหตุที่ว่าเครื่องดนตรีทุกชิ้นจะต้องยึดถือเอาจังหวะเสียงของฉิ่งเป็นหลักในการบรรเลงเพื่อความพร้อมเพรียง
๒. เครื่องตีที่ประกอบจังหวะ
หมายถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ตีเพื่อประกอบจังหวะของฉิ่งและทำนองเพลงเพื่อให้ เกิดความไพเราะสนุกสนานได้อรรถรสของบทเพลงมากขึ้นซึ่งก็มีหลายอย่างเช่น กลองแขก กลองทัด ตะโพนไทย ตะโพนมอญ ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เปิงมางคอก กลองตุ๊ก ฯลฯ โดยเครื่องตีในแต่ละชิ้นนี้จะมีลีลาการบรรเลงที่แตกต่างกันและเสียงก็แตก ต่างกันจึงทำให้บทเพลงมีความน่าตื่นตาตื่นใจได้ไม่น้อยทีเดียว
๓. เครื่องตีที่ทำให้เกิดทำนอง
หมายถึงเครื่องตีที่ใช้ตีแล้วเสียงที่ดังออกมาเป็นทำนองเพลงโดยตรงซึ่งก็ ได้แก่ ฆ้องไทยวงใหญ่ ฆ้องไทยวงเล็ก ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ขิม อังกะลุง(บรรเลงเป็นวง)