เครื่องเป่า


เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่จะกล่าวต่อไปนี้นั้นเป็นเครื่องดนตรีไทยนะครับ

๑. ขลุ่ย
ขลุ่ยเป็นเครื่องเป่าที่ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ใดๆเข้ามาเสริมใน การให้เกิดเสียงเพราะเพียงเราเป่าลมให้ผ่านเข้าไปในเลาขลุ่ยและเปิด – ปิดนิ้วก็สามารถมีเสียงได้แล้ว ส่วนประกอบของขลุ่ยนั้นมีไม่มากและไม่สลับซับซ้อนคือ
๑. ตัวขลุ่ยที่เรียกว่า”เลาขลุ่ย”ทำจากไม้ไผ่หรือไม้อื่นๆเช่นไม้ผยุง ไม้ชิงชัน หรือในปัจจุบันทำจากพลาสติกก็มี
๒. ไม้เสี้ยมที่เรียกว่า”ดาก”ทำจากไม้ เสี้ยมปลายให้บางพอเหมาะเป็นตัวทำให้เกิดเสียง
๓. ปากนกแก้ว เป็นส่วนที่ทำให้เกิดเสียงประกอบกับดากและขลุ่ยจะกินลมมากน้อยเช่นไรขึ้นอยู่กับปากนกแก้วนี้
๔. รูปิดเปิดนิ้ว มีทั้งหมด ๘ รู ทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันโดยเรียงร้อยเป็นทำนองเพลงที่ไพเราะ
๕. รูแต่งเสียงสูงต่ำ มี๔รูอยู่ที่ด้านล่างสุดของเลาขลุ่ย(ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ร้อยเชือกเอาไว้แขวน)
ขลุ่ยที่ใช้กันอยู่มี ๓ ชนิดคือ
– ขลุ่ยเพียงออ มีเสียงอยู่ในระดับปานกลางนุ่มนวลนิยมใช้ในวงเครื่องสาย มโหรี ปี่พาทย์ไม้นวม
– ขลุ่ยหลิบหรือขลุ่ยหลีก มีเสียงสูงหนึ่งเท่าตัวของขลุ่ยเพียงออ นิยมใช้คู่กับขลุ่ยเพียงออ
– ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่และมีเสียงทุ้มต่ำ เคยพบเห็นใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวาที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(เมื่อ ครั้งยังไม่เปลี่ยนชื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ – พ.ศ. ๒๕๒๗)
๒. ปี่

ปี่เป็นเครื่องเป่าที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยในการเกิดเสียง ส่วนประกอบเฉพาะตัวเลาปี่ทุกชนิดเหมือนกันคือ
๑. ตัวปี่ที่เรียกว่า”เลาปี่”ทำจากไม้ชนิดต่างๆเช่นไม้สัก ไม้ชิงชัน ไม้พยุงฯลฯหรืองาช้างก็มี
๒. รูเปิด – ปิดให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละชนิดมีไม่เท่ากัน
๓. ลำโพงปี่ชวา ทำจากไม้กลึงกลวงปลายบานนำเล่าปี่สอดเข้าไปในลำโพงแล้วเป่าเสียงจะดังก้องกังวานขึ้น
๔. ลำโพงปี่มอญ ทำจากโลหะโค้งต่อเชื่อมปลายบาน นำเล่าปี่สอดเข้าไปในลำโพงแล้วเป่าเสียงจะดังก้องกังวานขึ้น
อุปกรณ์ช่วยในการเกิดเสียง ซึ่งสำคัญมากเพราะถ้าไม่มีก็ไม่สามารถเป่าปี่ให้เกิดเสียงได้ เราเรียกว่า”ลิ้นปี่”
ส่วนประกอบของลิ้นปี่ที่สำคัญก็มี
๑. กำพรวด ทำจากโลหะ เช่นเงิน ทองเหลือง นำมาม้วนกลมเป็นหลอดแล้วเชื่อมให้ติดกันด้วยวิธีการเป่าแล่น
๒. ลิ้นปี่ ทำจากใบตาลพับสี่ทบ(มีวิธีพับเฉพาะ)ตัดให้มนคล้ายรูปเล็บมือ
๓. เชือกรัดลิ้นปี่ให้ติดกับกำพรวดเรียกว่า”สายอ้อ”เป็นเชือกที่ควั่นขึ้นเองจากด้ายดิบ
ปี่มีหลายชนิดแต่ที่นิยมในวงปี่พาทย์ภาคกลางมีอยู่ ๔ ชนิดคือ
– ปี่ใน มีเสียงที่ดังนุ่มนวล นิยมใช้บรรเลงในสถานที่ไม่ใหญ่นัก และบรรเลงร่วมกับวงปี่พาทย์ไทยไม้แข็ง
– ปี่นอก มีเสียงที่ดังจ้ามาก นิยมใช้บรรเลงในสถานที่กว้างๆหรือกลางแจ้ง และบรรเลงร่วมกับวงปี่พาทย์ไทยไม้แข็ง
– ปี่ชวา มีเสียงที่เล็กแหลมดังจ้ามากกว่าปี่นอก นิยมใช้บรรเลงในวงปี่ชวากลองแขก ประกอบการแสดงศิลปะการต่อสู้ เช่น กระบี่กระบอง หรือ การชกมวยไทย และวงปี่พาทย์นางหงส์ในการประโคมศพ และวงบัวลอยในการประชุมเพลิง
– ปี่มอญ มีเสียงที่ทุ้มต่ำ โหยหวนมาก นิยมใช้ในวงปี่พาทย์มอญ

เครื่องตี


เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี

เครื่องดนตรีประเภทนี้จะต้องมีการกระทบกันจึงจะเกิดเสียงดังออกมา และการกระทบกันที่ว่านี้ก็มีด้วยกันหลายวิธีเช่นใช้มือตี ได้แก่ กลองแขก ตะโพนไทย ตัวเองกระทบกัน ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ ใช้ไม้ที่ทำเฉพาะตี ได้แก่ ฆ้องวง โหม่ง ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ขิม ใช้การกระแทก ได้แก่ อังกะลุง
เครื่องตีสามารถแยกได้เป็น ๓ ประเภทตามหน้าที่ในการบรรเลงคือ
๑. เครื่องตีที่ทำจังหวะ
หมายถึงเครื่องตีที่เมื่อตีแล้วจะเป็นเสียงที่คุมจังหวะการบรรเลงของเพลง นั้นๆตลอดทั้งเพลงซึ่งได้แก่ ฉิ่ง และถือเป็นหัวใจของการบรรเลง
ด้วยเหตุที่ว่าเครื่องดนตรีทุกชิ้นจะต้องยึดถือเอาจังหวะเสียงของฉิ่งเป็นหลักในการบรรเลงเพื่อความพร้อมเพรียง
๒. เครื่องตีที่ประกอบจังหวะ
หมายถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ตีเพื่อประกอบจังหวะของฉิ่งและทำนองเพลงเพื่อให้ เกิดความไพเราะสนุกสนานได้อรรถรสของบทเพลงมากขึ้นซึ่งก็มีหลายอย่างเช่น กลองแขก กลองทัด ตะโพนไทย ตะโพนมอญ ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เปิงมางคอก กลองตุ๊ก ฯลฯ โดยเครื่องตีในแต่ละชิ้นนี้จะมีลีลาการบรรเลงที่แตกต่างกันและเสียงก็แตก ต่างกันจึงทำให้บทเพลงมีความน่าตื่นตาตื่นใจได้ไม่น้อยทีเดียว
๓. เครื่องตีที่ทำให้เกิดทำนอง
หมายถึงเครื่องตีที่ใช้ตีแล้วเสียงที่ดังออกมาเป็นทำนองเพลงโดยตรงซึ่งก็ ได้แก่ ฆ้องไทยวงใหญ่ ฆ้องไทยวงเล็ก ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ขิม อังกะลุง(บรรเลงเป็นวง)

 

เครื่องสี


เครื่องสี

เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทย เรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกัน คือ ซอสามสาย ซออู้ และซอด้วงที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านได้แก่ สะล้อ  เป็นต้น
ซอด้วง

ซอด้วง
ซอด้วง เป็นซอสองสาย  เป็นซอที่มีเสียงแหลมเล็กที่สุดในเวลาเข้าประสมวง จะทำหน้าที่เป็นผู้นำวง โดยบรรเลงทำนองหลักด้วยทำนองหวานบ้าง เก็บบ้าง หรือเร็วบ้าง ตามความเหมาะสมที่มีอยู่ในเพลง
คันทวนซอด้วงยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำ ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้
แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องทำด้วยไม้ลำเจียก ส่วนหน้าซอนิยมใช้หนังงูเหลือมขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง ลักษณะขอซอด้วง มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฉิน (Huchin) ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า ซอด้วง ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกัน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง
สายซอด้วงนั้น มีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือสายเอกจะเป็นเสียง “เร” ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง “ซอล” โดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้
ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้
กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้
คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า “โขน” ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า “ทวนล่าง”
ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก
รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง
หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ
คันชัก ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ 250 เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี
การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก


ซอสามสาย

ซอสามสาย
ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง
ประวัติ
ปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ (หน้า 30) ที่บันทึกไว้ว่า “….ชาวสยามมีเครื่องดุริยางค์เล็กๆ น่าเกลียดมาก มีสามสายเรียกว่า “ซอ” ….” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือก่อนนั้น มีซอสามสายและนิยมเล่นกัน และลักษณะรูปร่างของซอสามสายก็คงจะยังไม่สวยงามมากอย่างในปัจจุบันนี้
จนมาถึงยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ท่านมีอัจฉริยภาพในทางศิลปะด้านต่างๆ เช่น ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง อีกประการหนึ่ง พระองค์ท่านยังโปรดทรงซอสามสายเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้พระองค์ท่านได้ประดิษฐ์คิดสร้างซอสามสายได้ด้วยความประณีต งดงาม และเป็นแบบอย่างมาจนถึงปัจจุบันนี้
ส่วนต่าง ๆ ของซอสามสายมีชื่อเรียกดังนี้
1. ทวนบน เป็นส่วนบนสุดของคันซอ คว้านด้านในให้เป็นโพรงโดยตลอด ด้านบนสุดมีรูปร่างเป็นทรงเทริด ทวนบนนี้ เจาะรูด้านข้างสำหรับใส่ลูกบิด 3 ลูก ด้านหน้าตรงปลายทวนตอนล่าง เจาะรูสำหรับร้อยสายซอ ที่สอดออกมาจากรัดอก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อกซอ ทวนบนนี้ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับท่ออากาศ (Air column) ให้เสียงที่เกิดจากกะโหลกเป็นความถี่ของเสียง แล้วลอดผ่านออกมาทางทวนบนนี้ได้
2. ทวนล่าง คือส่วนของซอที่ต่อลงมาจากทวนบน ทำเป็นรูปทรงกระบอก และประดิษฐ์ลวดลายสวยงาม เช่นลงยาตะทอง ลงถมปัด ประดับมุก หรืออย่างอื่น เป็นการเพิ่มความวิจิตรงดงาม และเรียกทวนล่างนี้ว่า ทวนเงิน ทวนทอง ทวนมุก ทวนลงยา เป็นต้น ทวนล่างนี้สวมยึดไว้กับทวนบน และเป็นที่สำหรับผูก รัดอก เพื่อบังคับให้สายซอทั้ง 3 เส้นติดอยู่กับทวน นอกจากนั้นทวนล่าง ยังทำหน้าที่เป็นตำแหน่งสำหรับกดนิ้ว ลงบนสายในตำแหน่งต่างๆ
3. พรมบน คือส่วนที่ต่อจากทวนล่างลงมา ส่วนบนกลึงเป็นลูกแก้ว ส่วนตอนล่างทำเป็นรูปปากช้างเพื่อประกบกับกะโหลกซอ
4. พรมล่าง คือส่วนที่ต่อจากกะโหลกซอลงมาข้างล่าง ส่วนที่ประกบกับกะโหลกซอทำเป็นรูปปากช้าง เช่นเดียวกับส่วนล่างของพรมบน ตรงกลางของพรมล่างเจาะรูด้านบนเพื่อใช้สำหรับเป็นที่ร้อยหนวดพราหมณ์ เพื่อคล้องกับสายซอทั้งสามสายและเหนี่ยวรั้งให้ตึง ตรงส่วนปลายสุดของพรมล่างกลึงเป็น เกลียวเจดีย์ และตอนปลายสุดเลี่ยมด้วย ทองคำ หรือ ทองเหลืองเป็นยอดแหลม เพื่อที่จะปักกับพื้นได้ สะดวกยิ่งขึ้น คันซอสามสายทั้ง 4 ท่อนนี้จะมีลักษณะกลวงตลอด ยกเว้นพรมล่างตอนที่เป็นเกลียวเจดีย์เท่านั้นที่เป็นส่วนที่ตัน เพราะต้องการ ความแข็งแรง ในขณะปักสีเวลาบรรเลง และคันซอทั้ง 4 ท่อนนี้ จะสวมไว้กับแกนที่สอดไว้กับ กะโหลกซอ
5. ถ่วงหน้า ถ่วงหน้าของซอสามสาย เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ติดอยู่ตรงหน้าซอ เพื่อควบคุมความถี่ของเสียง ทำให้มีเสียงนุ่มนวลไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
6. หย่อง ทำด้วยไม้ไผ่ แกะให้เป็นลักษณะคู้ ปลายทั้งสองของหย่องคว้านเป็นเบ้าขนมครกเพื่อทำให้เสียง ที่เกิดขึ้นส่งผ่านไปยังหน้าซอมีความกังวานมากยิ่งขึ้น
7. คันสี (คันชัก) คันสีของซอสามสาย ประกอบด้วยไม้และหางม้า คันสีนั้นเหลาเป็นรูปคันศร โดยมากนิยมใช้ไม้แก้ว เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง และมีลวดลายงดงาม
เสียงของซอสามสาย
– สายเอก ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง ซอล และใช้ปลายนิ้วแตะที่ข้างสายโดยใฃ้นิ้วชี้ จะเป็นเสียง ลา, ใช้นิ้วกลางแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียง ที, ใช้นิ้วนางแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียงโด, ใช้นิ้วก้อยแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียง เร (เสียงสูง), ใช้นิ้วก้อยรูดที่สายจะเป็นเสียง มี (เสียงสูง)
– สายกลาง ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง เร และใช้นิ้วชี้กดลงบนสายจะเป็นเสียง มี, ใช้นิ้วกลางกดลงบนสายจะเป็นเสียง ฟา, ใช้นิ้วนางกดลงบนสายเป็นเสียง ซอล
– สายทุ้ม ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง ลา และใช้นิ้วชี้กดลงที่สายจะเป็นเสียง ที, ใช้นิ้วกลางกดลงที่สายจะเป็นเสียง โด, ใช้นิ้วนางกดลงที่สายจะเป็นเสียง เร


ซออู้


ซออู้
ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ  กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่าง ใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 – 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย
ซออู้มีรูปร่างคล้ายๆกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฮู้ ( Hu-hu ) เหตุที่เรียกว่าซออู้ก็เพราะ เรียกตามเสียงที่ได้ยินนั่นเองซอด้วงและซออู้ ได้เข้ามามีบทบาทในวงดนตรีเครื่องสายตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 นี่เอง โดยได้ดัดแปลงมาจาก วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ทำลำนำประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปละ ปี่อ้อ ต่อมาได้เอากลองแขก ปี่อ้อ อก และเอา ทับกับรำมะนา และขลุ่ยเข้ามาแทน เรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า วงมโหรีเครื่องสาย มีคนเล่นทั้งหมด 6 คน รวมทั้ง ฉิ่งด้วย
ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้
– กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด
– คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กะโหลกลงไป เพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น
– ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำให้ด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก
– รัดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน

– หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกับวาน บางทีเรียกว่า หย่อง
– คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ 250 เส้น เส้นหางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม
การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก 5 เสียง

เครื่องดีด


เครื่องดีด
เครื่องดนตรีพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นเครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลงเครื่องดนตรีที่เกิดเสียงด้วยการใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น เราจะรวมเรียกว่า “เครื่องดีด”
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในเครื่องดนตรีตระกูล “พิณ” มีสายสำหรับดีด มีทั้งที่ตั้งขึ้นดีดและวางราบดีด ในประเทศไทยมีหลายชนิด รูปร่างลักษณะ วิธีการดีด และชื่อเรียกต่างกันออกไป เช่น จะเข้ พิณ ๕ สาย พิณเปี๊ยะหรือพิณเพี้ยะ พิณน้ำเต้า ซึง พิณอีสาน กระจับปี่ เป็นต้น
กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ประเภทเครื่องดีด มีหลักฐานว่าเล่นกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา กล่องเสียงทำด้วยไม้ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้า มีคันทวนค่อนข้างยาวปลายด้านบนงอนโค้ง มีสายสำหรับดีด ๔ สายทำด้วยไหม สายที่ ๑ กับสายที่ ๒ เทียบเสียงเท่ากันคู่หนึ่ง และสายที่ ๓ กับสายที่ ๔ เทียบเสียงเท่ากันอีกคู่หนึ่ง มีนมตั้งเสียงติดอยู่กับด้านหน้าของคันทวนจะเข้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี ๓ สาย แต่เดิมเป็นสายไหมสองสายและสายลวดหนึ่งสาย แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายเอ็นแทนสายไหม ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน นิยมใช้ไม้ขนุน ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ข้างล่าง มีนมติดอยู่ทางด้านบนของตัวจะเข้ ๑๑ นม เนื่องจากเป็นเครื่องดีดที่มีขนาดใหญ่เวลาดีดจึงวางราบกับพื้นไม่ยกขึ้นดีดอย่างพิณชนิดอื่นๆ บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรีพิณเปี๊ยะหรือพิณเพี้ยะ คำว่า “เปี๊ยะ” ในภาษาล้านนาแปลว่า อวด ซึ่งน่าจะหมายถึงการดีดอวดฝีมือของบรรดาผู้ชายชาวเหนือที่ใช้พิณชนิดนี้เป็นสื่อไปเกี่ยวพาราสีผู้หญิง กล่องเสียงของพิณเปี๊ยะทำมาจากกะลามะพร้าวผ่าซีก ผูกติดอยู่กับคันทวน มีสายตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปซึง เป็นเครื่องดีดของทาง

ภาคเหนือ คล้ายกับกระจับปี่ แต่ต่างกันที่ปลายทวนด้านบนไม่ยาว งอนโค้งเหมือนกระจับปี่ มีหลายขนาด สายสำหรับดีดทำมาจากลวด บรรเลงเดี่ยว ,รวมกันเป็นหมู่ หรือรวมวงกับสะล้อ ขลุ่ยเมือง และปี่ซอ (ปี่จุม)

พิณอีสาน มีสายสำหรับดีด ๓ สายทำมาจากลวด กล่องเสียงทำด้วยไม้ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้า ปลายคันทวนด้านบนจะแกะสลักไม้เป็นรูปพญานาค ปัจจุบันมีทั้งที่เป็นพิณโปร่งธรรมดา พิณไฟฟ้า และพิณเบส

 พิณ ๕ สาย เป็นเครื่องดนตรีที่ไม่พบว่ามีของจริงอยู่แล้ว นักโบราณคดีพบพิณชนิดนี้จากภาพจำหลักสมัยทวารวดี พิณชนิดนี้ไม่มีนมสำหรับกำหนดเสียงแน่นอน อาจารย์มนตรี ตรา

โมท เป็นผู้พิจารณาจำลองแบบขึ้นใหม่ และกำหนดให้บรรเลงอยู่ในวงดนตรีประกอบการแสดงชุดระบำทวารวดี

พิณน้ำเต้า เป็นเครื่องดีดที่เก่าแก่ที่สุดอีกอย่างหนึ่งของไทย มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพิณเปี๊ยะของทางภาคเหนือมาก แต่กล่องเสียงของพิณน้ำเต้าจะทำมาจากผลน้ำเต้าแห้งผ่าซีก และเป็นพิณที่มีสายเดียว

พระปรคนธรรพ


ในวงการดนตรีไทย มีสิ่งหนึ่งที่ปฏิบัติกันมายาวนาน ก็คือ การไหว้ โดยส่วนใหญ่ หรือแทบจะทุกคนก่อนจะเริ่มเล่นเครื่องดนตรีก็จะต้องยกมือไหว้ และเมื่อเลิกเล่นก็จะยกมือไหว้อีก บางคนก็จะกราบลงกับเครื่องดนตรี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านักดนตรีไทยทุกคนถือว่า เครื่องดนตรีไทยทุกชนิดจะมีครูบาอาจารย์สิงสถิตอยู่นั่นเอง

นอกจากนี้นักดนตรีไทยก็ยังมีความเชื่ออีกว่าเครื่องดนตรีไทยถูก สร้างขึ้นมาจากเทพยดา หรือจะบอกอีกแบบหนึ่งว่า ศาสตร์ของดนตรีไทยถูกสร้างขึ้นมาจาก ดุริยะเทพ ก่อนที่จะมาเผยแพร่ให้แก่มนุษย์ ซึ่งทั้งหมดนี้คือการแสดงถึงศรัทธาของนักดนตรีไทยที่มีต่อบรมครูที่เป็นเทพ ซึ่งก็มีอยู่หลายองค์ แต่ละองค์ก็จะเป็นเทพแห่งศาสตร์ในแขนงต่างๆ เช่น พระปรคนธรรพ ก็จะเป็นที่นับถือกันมากในหมู่ของนักปี่พาทย์ หรือนักดนตรีใน วงปี่พาทย์ นั่นเอง เพราะว่านักดนตรีปี่พาทย์จะทราบกันดีว่า พระปรคนธรรพ ก็คือ ครูตะโพน และตะโพนทุกๆ ใบก็คือตัวแทนของพระปรคนธรรพ

ด้วยเหตุนี้เองนักดนตรีปี่พาทย์ส่วนใหญ่จะไม่รับประทาน หรือบริโภคเนื้อวัว เพราะว่าตะโพนที่พวกเรากราบไหว้ และนับถือ เป็นพระปรคนธรรพ ทำด้วยหนังวัว จึงไม่สามารถไหว้หนังแล้วกินเนื้อ และถ้าท่านผู้อ่านเริ่มที่จะศรัทธาต่อพระปรคนธรรพ หรือเทพองค์อื่นก็ควรจะหยุดบริโภคเนื้อวัว และอีกอย่างหนึ่งการไม่บริโภคเนื้อวัวก็จะทำให้เราได้กุศล และมีชีวิตที่ดีขึ้น

พระปรคนธรรพ มีกำเนิดมาจากหน้าผากของ พระพรหม (ผู้สร้างโลก) โดยพระพรหมสร้างพระปรคนธรรพให้จุติเป็น คนธรรพ ซึ่งก็คือเทวดาที่เป็นนักดนตรีอยู่บนสรวงสวรรค์ และต่อมาได้กลายมาเป็น เทวะฤๅษี มีนามว่า พระนารทมุนี หรือกล่าวโดยง่ายว่า พระนารทมุนี คือเทวดาที่บำเพ็ญตนเป็นฤๅษี (ไม่ใช่มนุษย์ที่เป็นฤๅษี เหมือนกับที่เราเห็นในรายการทีวี) จึงทำให้เหล่าคนธรรพบนสวรรค์จะให้ความเคารพ และยำเกรงต่อพระนารทมุนี หรือพระปรคนธรรพเป็นอย่างมาก ผมจะขอย้อนไปในเรื่อง ตำนานเพลงสาธุการ สักนิดหนึ่ง คือเมื่อครั้ง พระพุทธเจ้า ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ด้วยการซ่อนตนไปอยู่บนพระเกศาของ พระอิศวร เมื่อครั้งที่ทั้งสองพระองค์ได้ประลองฤทธิ์กัน และสุดท้ายพระพุทธเจ้าไม่ยอมเสด็จลงมาจากพระเกศาของพระอิศวร จนกว่าพระอิศวรจะให้เหล่าเทวดา หรือคนธรรพบรรเลง เพลงสาธุการ จึงจะยอมเสด็จลงมา และพระอิศวรจึงรับสั่งให้เหล่าคนธรรพบรรเลงเพลงสาธุการเพื่อเป็นการอัญเชิญ พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากพระเกศา ซึ่งในคราวนั้นเหล่าเทวดา คนธรรพทั้งมวลก็เริ่มจะบรรเลงเพลงสาธุการ แต่เมื่อเหล่าคนธรรพทั้งมวล ซึ่งให้ความนับถือ และยำเกรงต่อพระนารทมุนี หรือพระปรคนธรรพจึงได้ให้ท่านผู้เป็นใหญ่ในคนธรรพ ขึ้นเพลงสาธุการด้วยตะโพนก่อนผู้อื่น และจากครั้งนั้นจนถึงปัจจุบันนี้ ถ้าบรรเลงเพลงสาธุการก็จะต้องให้ตะโพนขึ้นนำมาก่อนทุกครั้ง และด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักดนตรีปี่พาทย์ให้ความเคารพต่อตะโพน เปรียบเป็นพระปรคนธรรพ

พระปรคนธรรพ นอกจากในวงการของนักดนตรีปี่พาทย์แล้ว ในสายของ โขน ละคร จะมีศีรษะเป็นเหมือนกับหัวโขนซึ่งจะมีลักษณะเป็นหน้ามนุษย์มีสีเขียวแก่ทั้ง ใบหน้า และมีชฎาดอกลำโพงอยู่บนศีรษะ ซึ่งก็จะมีเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่เป็นประจำว่าพระปรคนธรรพจะต้องเป็นสีขาว เพราะเนื่องจากว่าครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเครื่องนุ่งขาวห่มขาวเป็นลักษณะของฤๅษี และถือไม้เท้ายาวข้างขวา ซึ่งนักดนตรีไทยส่วนใหญ่ก็จะมีบูชาที่บ้านในลักษณะของรูปภาพ ซึ่งหลายคนให้ความเคารพว่าเป็นพระปรคนธรรพในร่างของรัชกาลที่ 6 จึงทำให้ผู้ที่มีความนับถือรูปภาพนั้น ก็จะบอกว่าพระปรคนธรรพเป็นสีขาว แต่ก็จะมีอีกหลายคนบอกว่าภาพของรัชกาลที่ 6 นั้น ท่านทรงเครื่องแต่งเป็น พระปัญจสีขร และนุ่งขาวห่มขาวเหมือนกับศีรษะโขนที่เป็นสีขาว จึงทำให้เป็นที่ขัดแย้งกันอยู่พอสมควร แต่ผมลองพิจารณาด้วยตัวเองก็เห็นว่าภาพนั้น รัชกาลที่ 6 ท่านทรงเครื่องเป็นลักษณะของฤๅษี เพราะฉะนั้นก็สมควรที่จะเป็นพระปรคนธรรพมากกว่าพระปัญจสีขรที่ไม่ได้เป็น ฤๅษี แต่อย่างไรก็ดี ความคิดของผมก็มิได้ถือเป็นมติเอกฉันท์ ใครจะนับถือเป็นอย่างไรก็สุดแท้ แล้วแต่จะว่ากันไป เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของความเชื่อ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ถูกบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์

แบ่งตามภาค–เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน


หืน
เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเป่าอย่างหนึ่งมี ทั้งที่ทำด้วยไม้ไผ่
แคน
เป็น เครื่องดนตรีที่เป็นที่รู้จัก มากที่สุด ของ ชาวภาคอีสานเหนือ
โหวด
เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวก
พิณ
เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลง ด้วยการดีด มี ๒-๓ สาย แต่ขึ้นเป็นสองคู่ โดยขึ้นคู่ ๕
โปงลาง
เป็นเครื่องดนตรีประเภทที่บรรเลง ทำนองด้วยการตี เพียงชนิดเดียว ของ ภาคอีสาน โดย บรรเลงร่วมกันกับแคน
จะเข้กระบือ
เป็นเครื่องดนตรีสำคัญ ชิ้นหนึ่งใน วงมโหรีเขมร เป็นเครื่องดนตร ีประเภทดีดในแนวนอน มี ๓ สาย
กระจับปี่
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยใช้กระที่ทำจากเขาสัตว์ กล่องเสียงทำ ด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก
ซอกันตรึม
เป็นเครื่องสายใช้สี ทำ ด้วยไม้ กล่องเสียงขึงด้วยหนังงู มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้ามหน้าซอ
กลองกันตรึม
เป็นเครื่องหนังชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดกลวง ขึงหน้าด้านหนึ่ง ด้วยหนังดึง ให้ตึงด้วยเชือก
ปี่ไสล
ใช้บรรเลงในวงกันตรึม เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ เช่นเดียวกับปี่ใน
กรับคู่
กรับคู่ เป็นกรับทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง

แบ่งตามภาค–เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ


สะล้อหรือ ทะล้อ
เป็นเครื่องสายบรรเลง ด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็น แหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว
ซึง
เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง
ขลุ่ย
เช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง
ปี่
เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง
ปี่แน
มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภท ลิ้นคู่ทำด้วยไม้
พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ
หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว
กลองเต่งถิ้ง
เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน
ตะหลดปด หรือมะหลดปด
เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร
กลองตึ่งโนง
เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตร
กลองสะบัดชัยโบราณ
เป็นกลองที่ มีมานานแล้ว นับหลายศตวรรษ

แบ่งตามภาค–เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้


ทับ
เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะ ควบคุม การเปลี่ยนแปลงจังหวะ
กลองโนรา
ใช้ประกอบการแสดง โนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า
โหม่ง
เป็นเครื่องดนตรี ที่มีส่วนสำคัญ ในการขับ บท ทั้งในด้านการให้เสียง
ปี่
เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญใน การเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม
แตระพวงหรือกรับพวง
เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็ง

แบ่งตามภาค–เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง


ซอสามสาย
ซอสามสาย เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทย มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย
ซอด้วง
ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง
ซออู้
ซออู้ เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง
จะเข้
จะเข้ เป็นเครื่องสาย ที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความ สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร
ขลุ่ย
ขลุ่ย ของไทยเป็นขลุ่ย ในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแส ลม ทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิว
ปี่
ปี่ เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ทำด้วยใบตาล เป็นเครื่องกำเนิดเสียง เป็นประเภทลิ้นคู่ (หรือ ๔ ลิ้น)
ระนาดเอก
ระนาดเอก เป็นระนาดเสียงแหลมสูง ประกอบ ด้วยลูกระนาด ที่ทำด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้ เนื้อแข็ง
ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้ม ทำด้วยไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ ๑๘ ลูก มีรูป ร่างคล้ายระนาดเอก
ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงใหญ่ เป็นหลักของวงปี่ พาทย์ และวงมโหรีใช้บรรเลงทำนองหลัก มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก
ฆ้องวงเล็ก
มีขนาดเล็กกว่า แต่ เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่ มีวิธีตีเช่นเดียว
โทนรำมะนา
โทน : รูปร่างคล้ายกลองยาว ขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนัง ดึงให้ตึงด้วยเชือก
กลองแขก
กลองแขก เป็น กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีวงเครื่องสายก็ได้
กลองสองหน้า
กลองสองหน้า เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือน กลองลูกหนึ่ง ในเปิงมางคอกขึง