วงมโหรี


วงมโหรี

               หมายถึง วงดนตรีชนิดหนึ่งมีกำเนิดในสมัยรัตนโกสินทร์ ใช้บรรเลงในโอกาศพิเศษ แต่เดิมใช้ผู้หญิงบรรเลงมีในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น เครื่องดนตรีสำหรับวงมโหรีก็ประดิษฐ์ขึ้นเป็นพิเศษ มีขนาดเล็กกว่าเดิม ระนาดก็เล็กกว่าเดิม ฆ้องก็เล็กกว่าเดิม ให้เหมาะกับผู้หญิงตีและเสียงก็จะเล็กกว่าเดิม

               วงมโหรีนั้นมีเครื่องดนตรีทุกประเภทรวมกัน นิยมบรรเลงในงานใหญ่ ๆ เช่น งานทำบุญต่างๆ งานแต่งงาน และใช้บรรเลงอวดฝีมือในโอกาสต่างๆ วงมโหรีนั้นมีหลายขนาด ได้แก่ มโหรีวงเล็ก มโหรีเครื่องคู่ และวงมโหรีวงใหญ่ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

วงมโหรีวงเล็ก

นิยมใช้บรรเลงในงานที่ค่อนข้างเล็กในอาคารสถานที่ไม่กว้างขวางนัก มีเครื่องดนตรีประกอบ ดังนี้

ซอสามสาย                 1 คัน

ซอด้วง                      1 คัน

ซออู้                         1 คัน

จะเข้                         1 ตัว

ระนาดเอกมโหรี            1 ราง

ฆ้องวงใหญ่มโหรี          1 วง

โทนมโหรี                   1 ใบ

รำมะนามโหรี              1 ใบ

ขลุ่ยเพียงออ          1 เลา

ฉิ่ง                           1คู่

(ฉาบเล็ก – กรับ – และโหม่ง จะมีหรือไม่มีก็ได้)

วงมโหรีเครื่องคู่

วงมโหรีเครื่องคู่จะมีเครื่องคู่ดนตรีมากขึ้นกว่ามโหรีวงเล็ก ลักษณะการใช้ก็เช่นเดียวกัน แต่จะเหมาะสมกับสถานที่ที่กว้างขวางกว่าวงมโหรีเครื่องคู่ มีเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย           1 คัน

ซอสามสายขลิบ   1 คัน

ซอด้วง                   2 คัน

ซออู้                        2 คัน

จะเข้                       2 ตัว

ระนาดเอกมโหรี  1 ราง

ระนาดทุ้มมโหรี   1 ราง

ฆ้องวงใหญ่มโหรี  1 วง

ฆ้องวงเล็กมโหรี  1 วง

โทนมโหรี             1 ใบ

รำมะนามโหรี      1 ใบ

ขลุ่ยเพียงออ          1 เลา

ขลุ่ยขลิบ                1 เลา

ฉิ่ง                           1คู่

ฉาบเล็ก                 1 คู่

กรับ                        1คู่

โหม่ง                     1 ใบ

วงมโหรีเครื่องใหญ่

วงมโหรีเครื่องใหญ่หรือวงมโหรีวงใหญ่นั้นก็มีเครื่องดนตรีมากขึ้นกว่าเดิม และจะใช้กับสถานที่ที่ค่อนข้างใหญ่ นิยมบรรเลงในสถานศึกษาโดยนักเรียน นิสิต นักศึกษา เพราะมีการเรียนการสอนได้ฝึกหัดกันมาก เพื่ออวดฝีมือจึงจัดการแสดงมโหรีวงใหญ่ได้บรรเลงกันโดยทั่วไป มีเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสายธรรมดา             1 -2 คัน

ซอสามสายขลิบ   1-2 คัน

ซอด้วง                   1-3 คัน

ซออู้                        1-3 คัน

จะเข้                       1-3 ตัว

ระนาดเอกมโหรี  1 ราง

ระนาดทุ้มมโหรี   1 ราง

ฆ้องวงใหญ่มโหรี  1 วง

ฆ้องวงเล็กมโหรี  1 วง

โทนมโหรี             1 ใบ

รำมะนามโหรี      1 ใบ

ขลุ่ยเพียงออ          1 เลา

ขลุ่ยขลิบ                1 เลา

ฉิ่ง                           1คู่

ฉาบเล็ก                 1 คู่

กรับ                        2 คู่

โหม่ง                     3 ใบ

ฆ้องราว                 1 ชุด

วงปี่พาทย์


วงปี่พาทย์

มีหลายรูปแบบ ได้แก่ ปี่พาทย์เครื่องห้า ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ปีพาทย์นางหงส์ ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ แต่ละรูปแบบจะใช้บรรเลงต่างกัน

วงปี่พาทย์ใช้เครื่องดนตรีหลักเป็นประเภทเครื่องตี และมีเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ จำนวนเครื่องขึ้นอยู่กับขนาดของวง

ปีพาทย์เครื่องห้า

วงปี่พาทย์ไทยที่มีขนาดเล็กที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาใช้บรรเลงในงานพิธีต่างๆ ที่ต้องการวงดนตรีที่ไม่ใหญ่นักและใช้บรรเลงประกอบโขนละคร เดิมมีกลองทัดเพียงใบเดียวในสมัยรัชกาลที่ 1 เพิ่มเป็น 2 ใบ ในปัจจุบันเพิ่มระนาดทุ้มอีก 1 ราง เรียกกันว่า ปี่พาทย์เครื่องหกวงปี่พาทย์เครื่องห้ามีเครื่องดนตรี ดังนี้

ระนาดเอก            1 ราง

ฆ้องวงใหญ่          1 เลา

ปี่ใน                       1 เลา

กลองทัด                2 ใบ

ตะโพน                  1 ใบ

ฉิ่ง                           1 คู่

ปี่พาทย์เครื่องคู่

เกิดในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีผู้คิดทำเครื่องดนตรีขึ้นมาคู่กันกับของเดิม คือ ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่และนำปี่นอกที่ใช้บรรเลงเพลงเชิดหนังใหญ่มาบรรเลงคู่กับปี่ใน วงปี่พาทย์เครื่องคู่ถือเอาวงปี่พาทย์เครื่องห้าเป็นหลักโดยเพิ่มเครื่องดนตรีคู่กันก็จะได้เป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ ซึ่งมีเครื่องดนตรี ดังนี้

ระนาดเอก            1 ราง      คู่กับระนาดทุ้ม     1 ราง

ฆ้องวงใหญ่          1 วง        คู่กับฆ้องวงเล็ก    1 วง

ปี่ใน                       1 เลา       คู่กับปี่นอก            1 เลา

นอกจากนั้นเป็นเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่

ฉิ่ง                           1 คู่

ตะโพน                  1 ใบ

กลองทัด                2 ใบ ในปัจจุบันนิยมใช้ปี่ใน เพียง 1 เลา

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

เกิดในสมัยรัตนโกสินทร์หลังจากมีปี่พาทย์เครื่องห้า ปี่พาทย์เครื่องคู่นิยมใช้ในงานพิธีและงานใหญ่อื่น ๆ ด้วย บรรเลงกลางแจ้งเสียงจะดังชัดเจน ถ้าบรรเลงในอาคารต้องเป็นอาคารใหญ่ หากบรรเลงในห้องเล็กเสียงจะดังเกินไป วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มีเครื่องดนตรี ดังนี้

ระนาดเอก            1 ราง

ระนาดทุ้ม             1 ราง

ระนาดทอง(ระนาดเอกเหล็ก)          1 ราง

ระนาดทุ่มเหล็ก   1 ราง

ฆ้องวงใหญ่          1 วง

ฆ้องวงเล็ก            1 วง

ปี่ใน                       1 เลา

ปี่นอก                    1 เลา

ตะโพน                  1 ใบ

กลองทัด                2 ใบ

ฉิ่ง                           1 คู่

ฉาบ                        1 คู่

ฆ้องราว                 1 ชุด

ปี่พาทย์นางหงส์

คล้ายกับวงปี่พาทย์ไทยแต่ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน นิยมแสดงในพิธีศพขนาดของวงแบ่งตามวงปี่พาทย์ไทย มีตั้งแต่ปี่พาทย์นางหงส์เครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่มีดังนี้

ระนาดเอก            1 ราง

ระนาดทุ้ม             1 ราง

ระนาดเอกเหล็ก  1 ราง

ฆ้องวงใหญ่          1 วง

ฆ้องวงเล็ก            1 วง

ปี่ชวา                      1 เลา

กลองแขก              2 ใบ

ฉิ่ง                           1 คู่

ฉาบ                        1 คู่

กรับ                        1 คู่

โหม่ง                     1 ใบ

ปี่พาทย์มอญ

ชนชาติมอญได้นำเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ชาวมอญใช้บรรเลงเพลงประกอบพิธีการต่างๆ ทั้งงานรื่นเริงและงานอื่น แต่นิยมบรรเลงในพิธีศพมากกว่า เพราะเสียงปี่พาทย์มอญ ให้อารมณ์เศร้าโดยเฉพาะเสียงปี่จะโหยหวนมาก เสียงตะโพนมอญจะได้ยินว่า เท่ง ทึง ซึ่งหมายถึง ตาย

เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงปี่พาทย์มอญ มีดังนี้

ระนาดเอก            1 ราง

ระนาดทุ้ม             1 ราง

ระนาดทอง(ระนาดเอกเหล็ก)          1 ราง

ระนาดทุ่มเหล็ก   1 ราง

ฆ้องวงใหญ่มอญ 1 ร้าน

ฆ้องวงเล็กมอญ   1 ร้าน

ปี่มอญ                    1 เลา

ตะโพนมอญ         1 ใบ

เปิงมางคอก          1 คอก

ฉิ่ง                           1 คู่

ฉาบเล็ก                 1 คู่

ฉาบใหญ่               1 คู่

กรับ                        1 คู่

ฆ้องราว                 1 ชุด

ฆ้องมอญนั้น ถ้าเป็นงานใหญ่ๆจะนิยมใช้ตั้งแต่ 2-9 ร้าน ตามความนิยม ในการเรียกสรรพนามของฆ้องมอญว่า “โค้ง” แต่ที่ถูกต้องเรียกว่า “ร้าน”

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้จัดตั้งวงดนตรีปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ขึ้น เพื่อประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์มีเสียงทุ้มกว่าปี่พาทย์ชนิดอื่น มีเครื่องดนตรีดังนี้

ระนาดเอก            1 ราง

ระนาดทุ้ม             1 ราง

ระนาดทุ้มเหล็ก 1 ราง

ฆ้องวงใหญ่          1 วง

ขลุ่ยเพียงออ          1 เลา

ขลุ่ยอู้                      1 เลา

ตะโพน                  1 ใบ

ฆ้องหุ้ย                  1 ชุด

กลองแขก              2 ใบ(ใช้เป็นบางเพลง)

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้ ระนาดเอกจะใช้ไม้นวมตี

วงเครื่องสาย


วงเครื่องสาย

ใช้เครื่องดนตรีหลักในการประสมวงเป็นเครื่องดนตรีที่มีสาย เช่น จะเข้ ซอด้วง ซออู้ รวมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น เช่น เครื่องเป่าและเครื่องประกอบจังหวะ การประสมวงเครื่องสายจัดออกเป็นประเภทต่างๆ ตามขนาดและลักษณะของวงได้ดังนี้

เครื่องสายวงเล็ก

นิยมแสดงในงานที่ไม่ต้องการเสียงดังมากนัก และแสดงในบริเวณอาคารในงานต่างๆ เช่น งานทำบุญเลี้ยงพระในบ้าน งานสมรสตอนกล่อมหอ เป็นต้น เครื่องสายวงเล็กมีเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอด้วง  1 คัน

ซออู้ 1 คัน

จะเข้ 1 ตัว

ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา

โทนมโหรี 1 ใบ

รำมะนามโหรี 1 ใบ

ฉิ่ง 1 คู่

วงสายเครื่องสายเครื่องคู่

นิยมบรรเลงในงานต่างๆ เช่นเดียวกับเครื่องสายวงเล็ก แต่มีจำนวนเครื่องดนตรีมากกว่า ได้แก่

ซอด้วง  2 คัน

ซออู้ 2 คัน

จะเข้ 2 ตัว

ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา

ขลุ่ยขลิบ 1 เลา

ฉิ่ง 1 คู่

โทนมโหรี 1 ใบ

รำมะนามโหรี 1 ใบ

ฉาบ 1 คู่

กรับ 1 คู่

โหม่ง 1 ใบ

เครื่องดนตรีที่บรรเลงทำนองจะมีเป็นคู่  แต่เครื่องดนตรีที่บรรเลงจังหวะจะมีเพียงอย่างละ 1 ชิ้น

วงเครื่องสายปี่ชวา

มีลักษณะพิเศษกว่าวงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายเครื่องคู่ คือ มีปี่ชวามาแทนขลุ่ย และใช้กลองแขกแทนโทนรำมะนามโหรี

วงเครื่องสายนี้จะมีเสียงแหลมสูงกว่าปกติเพราะเสียงปี่ชวาสูงแหลม เครื่องดนตรีอื่นๆ ต้องปรับขึ้นสายให้เท่ากับเสียงของปี่ชวา นิยมบรรเลงเพื่ออวดความสามารถของผู้บรรเลง บรรเลงเพลงกับวงเครื่องสายปี่ชวานี้มีเครื่องดนตรี คือ

ซอด้วง   1 คัน

ซออู้ 1 คัน

จะเข้ 1 ตัว

ปี่ชวา 1 เลา

ฉิ่ง 1 คู่

กลองแขก 1 คู่

ฉาบ 1 คู่

กรับ 1คู่

โหม่ง 1 ใบ

สำหรับเครื่องประกอบจังหวะอาจมีไม่ครบก็ได้ที่สำคัญ คือ ฉิ่ง และกลองแขก

วงดนตรีไทย


วงดนตรีไทย

วงดนตรีไทยมีเอกลักษณ์ที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงจนเป็นมาตรฐาน หลักการประสมเครื่องดนตรีสำหรับใช้บรรเลงในวงดนตรีใช้บรรเลงในวงดนตรีนั้นล้วนเกิดขึ้นโดยภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ทางดนตรีไทย ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาเครื่องดนตรีที่เหมาะสม การปรับระดับเสียงของเครื่องดนตรีต่างๆ สำหรับใช้บรรเลงร่วมกันรวมไปถึงการนำระบบความเชื่อมาเป็นเกณฑ์คัดเลือกวงดนตรีเพื่อใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ หลักการนำเอาเครื่องดนตรีมาประสมวงนั้นมีความแตกต่างกับการประสมวงดนตรีของตะวันตกอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากดนตรีไทยมีหลักการประสมวงโดยใช้เครื่องดนตรีจำนวนไม่มากชิ้นและเป็นวงที่ขนาดไม่ใหญ่มาก แม้ว่าบางวงอย่างวงมโหรีจะมีเครื่องดนตรีหลายชิ้นครบทั้ง 4 หมวดหมู่ แต่ก็ยังมีจำนวนของเครื่องดนตรีประมาณ 10 กว่าชิ้นเท่านั้น ซึ่งแต่ละชิ้นก็มีรูปร่างและขนาดที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เสียงของแต่ละเครื่องดังเกินไป

หลักการประสมวงดนตรีไทยถือความเหมาะสมของเสียงเป็นสำคัญ ทุกเสียงของเครื่องดนตรีไทยจะต้องกลมกลืนกันโดยสามารถจำแนกหลักการประสมวงดนตรีไทย